บ้าน เป็นสินทรัพย์ขนาดใหญ่ที่เป็นเป้าหมายในชีวิตของหลายๆ คน และหลังจากที่เราได้บ้านมาครอบครองแล้ว สิ่งสำคัญที่จะขาดไม่ได้ก็คือ การปกป้องสินทรัพย์นั้นไม่ให้สูญเสียไปจากภัยที่เข้ามากระทบ ซึ่งสิ่งนั้นก็คือ การทำประกันอัคคีภัยสำหรับที่อยู่อาศัย บางท่านอาจจะสงสัยว่าประกันอัคคีภัยสำหรับที่อยู่อาศัย จำเป็นต้องทำหรือไม่ และเมื่อทำแล้วมีประโยชน์อย่างไร
กรมธรรม์ประกันอัคคีภัยสำหรับที่อยู่อาศัยจะให้ความคุ้มครองความเสียหายที่เกิดจาก
เพื่อให้การประกันภัยสามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้มากขึ้น การประกันอัคคีภัยสำหรับที่อยู่อาศัยสามารถเพิ่มความคุ้มครองพิเศษบางอย่างขึ้นได้ เช่น ความคุ้มครองทรัพย์สินภายในบ้านจากการโจรกรรม ความคุ้มครองผู้อยู่อาศัยทั้งบุคคลภายนอกและคนในครอบครัว รวมถึงความคุ้มครองจากภัยธรรมชาติอื่นๆ เช่นน้ำท่วมได้อีกด้วย
สำหรับใครที่ซื้อบ้านโดยการใช้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยจากสถาบันการเงิน ทางสถาบันการเงินจะบังคับให้ทำประกันอัคคีภัยสำหรับที่อยู่อาศัยเพื่อประโยชน์ต่อผู้ที่ขอสินเชื่อและสถาบันการเงินเอง แต่จะไม่สามารถบังคับให้ผู้ขอสินเชื่อทำประกันอัคคีภัยสำหรับที่อยู่อาศัยกับบริษัทประกันวินาศภัยบริษัทใดบริษัทหนึ่งเป็นการเฉพาะเจาะจง ทั้งนี้ ผู้ขอสินเชื่อสามารถเลือกทำประกันอัคคีภัยสำหรับที่อยู่อาศัยได้ด้วยตัวเอง
การเลือกซื้อประกันอัคคีภัยสำหรับที่อยู่อาศัย ปัจจุบันมีบริษัทประกันวินาศภัยที่นำเสนอประกันอัคคีภัยสำหรับที่อยู่อาศัยเป็นจำนวนมาก ทุกบริษัทจะมีความคุ้มครองมาตรฐานเหมือนกัน แต่จะแตกต่างกันในความคุ้มครองเพิ่มเติมพิเศษ เราต้องดูว่า ความคุ้มครองพิเศษตัวไหนบ้างที่เราต้องการ หรือความคุ้มครองพิเศษตัวไหนบ้างที่เกินความจำเป็น แล้วเลือกทำประกันอัคคีภัยสำหรับที่อยู่อาศัยจากบริษัทประกันวินาศภัยที่สามารถตอบสนองความต้องการของเราได้อย่างแท้จริง เพื่อที่เราจะได้รับประโยชน์จากการทำประกันอัคคีภัยที่สอดคล้องกับความเสี่ยงภัยของเรา
การทำประกันอัคคีภัยสำหรับที่อยู่อาศัยที่ทุนประกันภัยต่ำว่าร้อยละ 70 ของมูลค่าทรัพย์สิน การชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจะลดลงตามหลักการเฉลี่ย (หลักการเฉลี่ย หมายถึง ในกรณีที่จำนวนเงินเอาประกันต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริงของทรัพย์สินจะถือว่าผู้เอาประกันภัยได้เอาประกันตัวเองในส่วนต่างนั้น บริษัทประกันภัยจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนลดลงตามส่วน) เพราะฉะนั้นการทำประกันอัคคีภัยสำหรับที่อยู่อาศัย ควรทำทุนประกันภัยไม่ต่ำว่าร้อยละ 70 ของมูลค่าทรัพย์สิน เพราะเมื่อเกิดความเสียหายเพียงบางส่วน บริษัทประกันวินาศภัยจะชดใช้ค่าสินไหมเสมือนกับที่ได้ทำประกันไว้เต็มมูลค่าและความคุ้มครองของประกันอัคคีภัยสำหรับที่อยู่อาศัย จะคุ้มครองเท่ากับมูลค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นจริงแต่ไม่เกินทุนประกันภัย สามารถดูตัวอย่างการจ่ายสินไหมทดแทนของบริษัทประกันวินาศภัยตามตารางด้านล่าง
มูลค่าที่อยู่อาศัย (บาท) |
ทุนประกันภัยที่ทำ (บาท) |
มูลค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง (บาท) |
สินไหมทดแทนที่บริษัทประกันจ่าย (บาท) |
5,000,000 |
2,000,000 |
2,000,000 |
800,000 |
5,000,000 |
2,000,000 |
||
3,500,000 |
2,000,000 |
2,000,000 |
|
5,000,000 |
3,500,000 |
||
5,000,000 |
2,000,000 |
2,000,000 |
|
5,000,000 |
5,000,000 |
||
10,000,000 |
2,000,000 |
2,000,000 |
|
5,000,000 |
5,000,000 |
จากตารางตัวอย่างการจ่ายสินไหมทดแทนของ การทำประกันอัคคีภัยสำหรับที่อยู่อาศัยด้วยทุนประกันภัยที่น้อยเกินไป ทำให้ไม่สามารถคุ้มครองความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้ทั้งหมด และการทำประกันอัคคีภัยสำหรับที่อยู่อาศัยด้วยทุนประกันภัยที่สูงเกินไป ก็จะเป็นการชำระเบี้ยที่มากเกินความจำเป็นโดยเปล่าประโยชน์ เพราะฉะนั้นเราควรเลือกทุนประกันภัยให้เหมาะสมกับมูลค่าของที่อยู่อาศัย ไม่มากและไม่น้อยเกินไป เพื่อให้เกิดประโยชน์ในความคุ้มครองที่ครอบคลุมภายใต้เบี้ยประกันภัยที่เหมาะสม
ความจำเป็นของประกันอัคคีภัยสำหรับที่อยู่อาศัยไม่ได้มีเพื่อประกอบการขอสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยเท่านั้น สำหรับใครที่อาศัยอยู่บ้านที่เป็นกรรมสิทธิ์ของตัวเองแล้วหรือซื้อบ้านด้วยเงินสด ก็ควรทำประกันอัคคีภัยสำหรับที่อยู่อาศัยด้วยเช่นกัน เพราะประกันอัคคีภัยสำหรับที่อยู่อาศัยสามารถสร้างความคุ้มครองที่จำเป็น หากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้น ด้วยเบี้ยประกันที่ไม่สูงมากนัก
----------------------------------------คุณสุทธาทิพย์ วิจิตร
E-mail address:
info4rich@gmail.com
เวลาทำการ จันทร์ - เสาร์
8:30 น. - 18:00 น.